วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่๑ นมัสการมาตาปิตุคุณ และนมัสการอาจริยคุณ


                                         นมัสการมาตาปิตุคุณ

ผู้แต่ง    พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
จุดประสงค์  เพื่อสรรเสริญพระคุณของบิดามารดา
บชนกคุณ     ชนนีเป็นเค้ามูล
 ผู้กอบนุกูลพูน      ผดุงจวบเจริญวัย       
ฟูมฟักทะนุถนอม        บ บำราศนิราไกล 
แสนยากเท่าไรไร        บ คิดยากลำบากกาย 
ตรากทนระคนทุกข์         ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย 
ปกป้องซึ่งอันตราย     จนได้รอดเป็นกายา 
เปรียบหนักชนกคุณ             ชนนีคือภูผา 
ใหญ่พื้นพสุนธรา           ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
 เหลือที่จะแทนทด      จะสนองคุณานันต์ 
แท้บูชไนยอัน       อุดมเลิศประเสริฐคุณ”
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง     ไม่มีพระคุณของผู้ใดจะยิ่งใหญ่เท่ามารดา
ถอดความ     บทกวีนี้ กล่าวนอบน้อมพระคุณของบิดามารดา ผู้ได้เกื้อกูลมาตั้งแต่เล็กจนเติบโต  คอยเฝ้าระวังรักษาประคับ ประคองดูแลอยู่ไม่ยอมห่าง  แม้จะ ลำบากเท่าไรก็อดทนได้ เลี้ยงลูกอย่างทะนุถนอม ปกป้องอันตราย จนรอดพ้นอันตราย เติบใหญ่  เป็นตัวเป็นตน เปรียบประคุณของบิดามารดายิ่งกว่าภูเขา  หรือแผ่นดิน สุดที่จะทดแทนพระคุณ มากล้นนี้ได้ด้วยกาiบูชาอันวิเศษสมบูรณ์เลิศล้ำอ่านเพิ่มเติม



บทที่๒ อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

                          
         ดินแดนชวาโบราณมีกษัตริย์วงศ์หนึ่งเรียกว่า  วงศ์สัญแดหวาหรือวงศ์เทวา  เพราะว่าสืบเชื้อสายมาจากเทวดา  คือ องค์ปะตาระกาหลา  กล่าวกันว่าวงศ์นี้มีพี่น้องสี่องค์  องค์พี่ครองเมืองกุเรปัน  องค์ที่สองครองเมืองดาา  องค์ที่สามครองเมืองกาหลังและองค์ที่สี่ครองเมืองสิงหัดส่าหรี  กษัตริย์วงศ์เทวามีอานุภาพยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์  ถือตัวว่าเป็นชนชั้นสูงจึงอภิเษกกันเฉพาะในวงศ์พี่น้อง
 นอกจากนี้ทั้งสี่เมืองเท่านั้นที่สามารถแต่งตั้งมเหสีได้ 5 องค์  ตามลำดับตำแหน่ง  คือ  ประไหมสุหรี  มะเดหวี  มะโต  ลิกู  เหมาหราหงี แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมืองหมันหยาซึ่งเป็นเมืองเล็กกว่า  กล่าวคือ  เจ้าเมืองนี้มีราชธิดาสามองค์  องค์โตชื่อนิหลาอระตา  ได้ไปเป็นประไหมสุหรีเมืองกุเรปัน
 องค์
ที่สองชื่อ  ดาหราวาตี  ได้ไปเป็นประไหมสุหรีเมืองดาหา  ส่วนองค์สุดท้องชื่อ  จินดาส่าหรี  ได้อภิเษกกับโอรสท้าวมังกัน  และได้ครองเมืองหมันหยา ท้าวกุเรปันมีโอรสองค์แรกกับลิกู  ชื่อว่า  กะหรัดตะปาตี  ต่อมามีโอรสกับประไหมสุหรีเป็นหนุ่มรูปงามและเก่งกล้าสามารถมากชื่อ  อิเหนา  หรือ  ระเด่นมนตรี  และมีราชธิดาชื่อวิยะดา  ส่วนท้าวดาหามีราชธิดากับประไหมสุหรีชื่อ  บุษบา  และมีโอรสชื่อ  สียะตรา บุษบามีอายุไล่เลี่ยกับอิเหนา  ท้าวกุเรปันจึงหมั้นบุษบาให้กับอิเหนา  และสียะตราก็หมั้นหมายกันไว้กับวิยะดาส่วนระตูหมันหยากับประไหมสุหรีก็มีราชธิดาชื่อระเด่นจินตะหรา  อายุรุ่นราวคราวเดียวกับอิเหนา  ท้าวสิงหัดส่าหรีกับประไหมสุหรีมีโอรสชื่อระเด่นสุหรานากง  ราชธิดาชื่อระเด่นจินดาส่าหรี
ท้าวกาหลังมีราชธิดาชื่อ  ระเด่นสกาหนึ่งรัด  ซึ่งเป็นคู่ตุนาหงันของสุหรานากง เมื่อพระอัยยิกาที่เมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์  ท้าวกุเรปันมอบหมายให้อิเหนาไปร่วมพิธีถวายพระเพลิงพร้อมกับกะหรัดตะปาตี  อิเหนาพบจินตะหราก็หลงรัก  จนพิธีถวายพระเพลิงเสร็จแล้วก็ยังไม่ยอมกลับกุเรปันอ่านเพิ่มเติม
บทที่๓ นิทานเวตาลเรื่องที่ ๑๐

                                   
                                      

 พระเจ้าตริวกรมเสนจึงได้เสด็จกลับไปที่ต้นอโศกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจับตัวเวตาล เมื่อจับได้แล้วก็ทรงเหวี่ยงขึ้นบนพระอังสา เสด็จมุ่งหน้าไปยังที่นัดพบกับโยคีโดยไม่ปริปากใด ๆ เลย เวตาลเห็นพระราชาทรงเงียบอยู่ก็กล่าวขึ้นว่า"ราชะ ตอนนี้พระองค์ก็เหน็ดเหนื่อยมาแล้วมากเต็มที ดังนั้นข้าจะเล่านิทานสนุก ๆ ให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง  เพื่อจะได้ขับไล่ความเหน็ดเหนื่อยให้ประลาตนาการ ไป   โปรดฟังเถิด"
 แต่ปางบรรพ์ยังมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง ทรงนามว่า วีรพาหุ เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญอย่างยอดยิ่ง 
คำสั่งของพระองค์นั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พระราชาทุกแว่นแคว้นจะต้องรับ ไว้เหนือเศียรเกล้า ทรงครองราชย์ ณ นครอันโอ่อา ชื่อนครอนงคปุระ ในนครนี้มีเศรษฐีผู้หนึ่งอาศัยอยู่ชื่อ อรรถทัตต์ ไวศยบดี(หัวหน้าพ่อค้า) ผู้นี้มีบุตรชายผู้หนึี่งชื่อ ธนทัตต์   และมีบุตรหญิงผู้เป็นรัตนะแห่งสตรีทั้งหลายมีชื่อว่า มัทนเสนา

            วันหนึ่ง ขณะที่นางมัทนเสนากำลังเล่นอยู่กับเพื่อน ๆ ในสวน ชายหนุ่มบุตรชายวาณิชชื่อธรรมทัตต์ ซึ่งเป็นสหายของพี่ชายของนางผ่านมาเห็นเข้าก็ตะลึงในความงามอันกอปรด้วยเสน่ห์อันลึกล้ำของนาง ผู้มีอกอันเต็มอิ่ม มีคอเป็นสามปล้องราวกับริ้วคลื่นทะเลสาบอ่านเพิ่มเติม                                                                                                    

บทที่๔ นิราศนริทร์คำโคลง

  นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียม
ได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์
(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง
 ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรม
พระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้
จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่าง
แพร่หลาย เนื้อหาของ นิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ มีการเดินทางและ
คร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจากกำสรวลศรีปราชญ์ 
(ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี)อ่านเพิ่มเติม